Image

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ [ 2566 ]

MOPH INTEGRITY AND TRANSPARENCY ASSESSMENT : MOIT
ITA คืออะไร ?
ITA คืออะไร ?
          หากจะว่าไปแล้ว การวัดหรือประเมินระดับการทุจริตคอร์รัปชันดูจะเป็นเรื่องยากที่สุดในกระบวนการศึกษาวิจัยเรื่อง การต่อต้านทุจริต ( Anti-Corruption Study ) คำถามที่ว่า ทำไมเราต้องวัดหรือประเมินระดับการคอร์รัปชันนั้น คำตอบที่ได้ คือ หากเราไม่วัด เราก็ไม่มีทางรู้ว่า สังคมเรามีปัญหาคอร์รัปชันมากน้อยแค่ไหน 20 ปีมาแล้ว ที่องค์กรความโปร่งใสสากล หรือ Transparency International ได้สร้างตัวชี้วัดระดับการทุจริตขึ้นมา หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Corruption Perception Index ( CPI ) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนภาพลักษณ์ระดับการคอร์รัปชันของประเทศต่างๆ ในโลก CPI ทำให้เรารู้ว่า ประเทศใดที่มีรัฐบาลโปร่งใส การบริหารงานเต็มไปด้วยธรรมาภิบาล ตรวจสอบได้ และมีผู้พร้อมแสดงความรับผิดชอบเมื่อกระทำผิด ( Accountability ) ในทำนองเดียวกัน CPI ทำให้เราทราบว่า ประเทศใดมีปัญหาด้านความโปร่งใส มีรัฐบาลขี้โกง มีระบบราชการที่ฉ้อฉล มีนักการเมืองขี้ฉ้อ เพราะสิ่งที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น
          สำหรับประเทศไทยแล้ว รัฐเองพยายามสร้างตัวชี้วัดความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ ( Transparency Index หรือ TI ) โดยศูนย์วิจัยเพื่อต่อต้านการทุจริต ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อปี พ.ศ. 2552 ศูนย์วิจัยป๋วยฯ เริ่มพัฒนาดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมๆ กับการศึกษาแนวคิดการประเมินคุณธรรมการดำเนินงาน ( Integrity Assessment หรือ IA ) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2554 ศูนย์วิจัยป๋วยฯ ดำเนินการวัดความโปร่งใสของหน่วยงานนำร่องภาครัฐ โดยเฉพาะส่วนราชการในส่วนกลางที่ " อาสา " มาให้วัดระดับความโปร่งใส ต่อมานักวิจัยนำดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐมาปรับรวมกับ Integrity Assessment ซึ่งใช้ประเมินคุณธรรมการดำเนินงานจนกลายเป็นดัชนีตัวใหม่ที่เรียกว่า Integrity & Transparency Assessment ( ITA ) ดัชนี ITA เรียกเต็มๆ ว่า " การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ " ซึ่งมีมหาวิทยาลัยหอการค้าเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำดัชนี ITA เป็นส่วนผสมระหว่าง TI และ IA และเรียกรวมๆ กันว่าเป็น Thailand Integrity & Transparency Assessment เหตุที่ต้องใช้ว่า Thailand นำหน้าด้วยก็เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกันทุจริตคอร์รัปชันที่มีเอกลักษณ์เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยๆ กรอบแนวคิดการประเมินของ ITA มีทั้งหมด 5 เรื่อง ได้แก่
          (1) ประเมินความโปร่งใส ( Transparency )
          (2) ประเมินความรับผิดชอบ ( Accountability )
          (3) ประเมินการทุจริตคอร์รัปชัน ( Corruption )
          (4) ประเมินวัฒนธรรมคุณธรรม ( Integrity Culture )
          (5) ประเมินคุณธรรมการทำงาน ( Work Integrity )
การสร้างกรอบแนวคิดการประเมินขึ้นก่อนนี้ ทำให้การประเมินมีทิศทางชัดเจน แม้เราจะมองว่า การวัดคุณธรรมเป็นเรื่องยากเพราะคุณธรรมเป็นนามธรรม ( Abstract ) มากกว่าจะจับต้องได้ อย่างไรก็ดี คุณธรรมที่ถูกประเมินนี้ วัดได้จาก วัฒนธรรมองค์กร การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันในองค์กร ขณะที่คุณธรรมการทำงานก็พิจารณาจาก การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และความเป็นธรรมในการมอบหมายงาน
          ITA เป็นดัชนีที่พยายามสร้างออกมาให้เป็นรูปธรรมเท่าที่ผู้ประเมินจะทำได้ เพราะหลังจากการดำเนินการแล้ว ผู้ประเมินจะคำนวณคะแนนคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐโดยรวมออกมา ค่าดัชนี ITA อยู่ระหว่าง 0-100 ถ้าหน่วยงานใดมีค่าระดับ ITA เข้าใกล้ 100 แสดงว่าหน่วยงานนั้น มีระดับคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานสูงมาก ขณะที่ค่า ITA เข้าใกล้ 0 ก็แสดงว่า หน่วยงานรัฐนั้นมีระดับความโปร่งใสของการดำเนินงานและคุณธรรมต่ำมาก
          ปัจจุบัน เกณฑ์การให้ค่าคะแนน ITA แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
          - สูงมาก (80-100)
          - สูง (60-79.99)
          - ปานกลาง (40-59.99)
          - ต่ำ (20-39.99)
          - ต่ำมาก (0-19.99)
การรวบรวมข้อมูลการประเมินมีที่มาทั้งจากบุคคลภายนอก บุคคลภายใน เก็บหลักฐานเชิงประจักษ์ ( Evidence Base ) และใช้ข้อมูลตัวชี้วัดที่หน่วยงานอื่นรวบรวมและดำเนินการเป็นดัชนี อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำนักงาน ป.ป.ช. พยายามพัฒนาและปรับปรุงตัวชี้วัดเพื่อประเมินความโปร่งใสและคุณธรรมของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนี ITA จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อ " ผู้เห็นคุณค่า " ของมันนำไปกำหนดนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน หรือ กำหนดพื้นที่ความเสี่ยงสำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ เช่น สตง. ซึ่งหากทำได้จะเป็นการ " บูรณาการการต่อต้านคอร์รัปชัน " ที่ไม่ได้เป็นแค่เพียง " วาทกรรม " หรูๆ แต่ทำอะไรไม่ได้จริง การต่อต้านคอร์รัปชันมิใช่ การต่อต้านด้วยวาทกรรมแบบ " ไร้เดียงสา " ที่มองว่า ปัญหาคอร์รัปชันเป็นแค่เรื่องของคนชั่วเพียงอย่างเดียว พฤติการณ์คอร์รัปชันมีความลึกซึ้งละเอียดอ่อน เกี่ยวข้องกับการวางกลไกควบคุม ล้อมกรอบ และจำกัดปัญหาไม่ให้ลุกลามบานปลาย โดยอาศัยความรู้เป็นเครื่องนำทาง มิใช่เอาแต่อารมณ์เคียดขึ้งชิงชังป็นตัวนำ เพราะการใช้ " สติปัญญา " ในการแก้ปัญหา คือที่มาของการแก้ปัญหาของสังคมที่เจริญแล้ว
MOIT 1 : หน่วยงานมีการวางระบบโดยการกาหนดมาตรการการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน
MOIT 2 : หน่วยงานมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน
MOIT 3 : หน่วยงานมีรายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีงบประมาณ 2565
MOIT 4 : หน่วยงานมีการวางระบบการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุประจำปีงบประมาณ 2566
MOIT 5 : หน่วยงานมีการสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดหาพัสดุรายเดือนประจำปีงบประมาณ 2566
MOIT 6 : ผู้บริหารแสดงนโยบายการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
MOIT 7 : หน่วยงานมีการรายงานการประเมินและเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรในหน่วยงานและเปิดเผยผลการปฏิบัติราชการระดับดีเด่นและระดับดีมากในที่เปิดเผยให้ทราบปีงบประมาณ 2565 และ 2566
MOIT 8 : หน่วยงานมีการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานเกี่ยวกับการเสริมสร้างและพัฒนาทางด้านจริยธรรมและการรักษาวินัย รวมทั้งการป้องกันมิให้กระทาผิดวินัย
MOIT 9 : หน่วยงานมีแนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนและช่องทางการร้องเรียน
MOIT 10 : หน่วยงานมีข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียน
MOIT 11 : หน่วยงานของท่านเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน
MOIT 12 : หน่วยงานมีมาตรการ “การป้องกันการรับสินบน” ที่เป็นระบบ
MOIT 13 : หน่วยงานประเมินการดาเนินการตามแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานในปีงบประมาณ 2565-2566 ตามเกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564
MOIT 14 : หน่วยงานมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการที่ถูกต้องและมีขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อยืมทรัพย์สินของราชการไปใช้ปฏิบัติในหน่วยงาน
MOIT 15 : หน่วยงานมีแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมประจำปีงบประมาณ 2566
MOIT 16 : หน่วยงานมีรายงานผลการดาเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปีงบประมาณ 2566 และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของชมรมจริยธรรมของหน่วยงานประจำปีงบประมาณ 2566
MOIT 17 : หน่วยงานมีการประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปีงบประมาณ 2566 อย่างเป็นระบบ
MOIT 18 : หน่วยงานมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการทุจริต (การควบคุมความเสี่ยงการทุจริต)
MOIT 19 : หน่วยงานมีการรายงานผลการส่งเสริมการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน : กรณีการเรี่ยไรและกรณีการให้หรือรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใดประจำปีงบประมาณ 2566
MOIT 20 : หน่วยงานมีการอบรมให้ความรู้ภายในหน่วยงาน เรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อนในหลักสูตร ต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2565
MOIT 21 : หน่วยงานมีการเผยแพร่เจตจำนงสุจริตของการปฏิบัติหน้าที่ราชการและนโยบายที่เคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของผู้ปฏิบัติงานและของผู้บริหารต่อสาธารณชน
MOIT 22 : หน่วยงานมีแนวปฏิบัติที่เคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของผู้ปฏิบัติงานและรายงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน